วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
มารู้จักเมนบอร์ดกัน
มารู้จักเมนบอร์ดกัน
จากรูป เมนบอร์ดประกอบด้วยอุปกรณ์หลักดังนี้
1. พอร์ตต่อเชื่อมกับอุปกรณ์รอบข้าง พอร์ต (port) เป็นช่องสำหรับต่อเข้ากับหน่วยรับเข้า หน่วยแสดงผล รวมทั้งอุปกรณ์สนับสนุนทั้งหลาย อาจเป็นแผงแป้นอักขระ เมาส์ เครื่องพิมพ์ ในปัจจุบันพอร์ตที่มีการใช้อยู่ ได้แก่ พอร์ตแบบอนุกรม (serial port) พอร์ตแบบขนาน (parallel port) และยูเอสบี (USB port) ซึ่งเป็นพอร์ตที่กำลังมาแรงและปัจจุบันมีอุปกรณ์หลายชิ้นที่พัฒนาส่วนต่อ พ่วงกับเมนบอร์ดให้เป็นแบบยูเอสบี
2. สล็อต (slot) มีลักษณะเป็นช่องสำหรับเสียบอุปกรณ์ เช่น แรม โมเด็ม แบบติดตั้งภายในหรืออุปกรณ์อื่นที่ช่วยขยายความสามารถในการทำงานของเครื่อง คอมพิวเตอร์บนเมนบอร์ดประกอบด้วยสล็อตที่เสียบอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้
2.1) สล็อตเสียบแรม เป็นตำแหน่งที่เสียบหน่วยความจำหลักแบบแรม โดยแรมที่จะนำมาเสียบลงในสล็อตนี้ต้องเป็นแบบที่สล็อตนี้รับได้เท่านั้น ดังนั้นการเปลี่ยนหรือเพิ่มแรม ผู้ใช้ต้องศึกษาชนิดของแรมที่เข้ากับสล็อตเสียก่อน
2.2) สล็อต PCI เป็นช่องสำหรับเสียบอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องการต่อเพิ่มเติมเข้ากับคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทั่วไปอุปกรณ์เหล่านั้นจะได้รับการออกแบบในรูปของการ์ดสำหรับเสียบ เพิ่มเติมตามต้องการ เช่น การ์ดเสียง การ์ดแสดงผล โมเด็มแบบติดตั้งภายใน การ์ดสำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายหรือการ์ดแลน2.3) สล็อต ISA เป็นช่องเสียบสำหรับอุปกรณ์เพิ่มเติมเช่นเดียวกับสล็อต PCI สล็อต ISA เป็นรุ่นที่เก่ากว่าและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ไม่มีสล็อตประเภทนี้แล้ว
2.4) สล็อต AGP เป็นสล็อตสำหรับเสียบการ์ดแสดงผลความเร็วสูง ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงผลทางจอภาพ
3. ซ็อคเก็ต (socket) สำหรับเสียบซีพียู เป็นตำแหน่งที่เสียบซีพียูซึ่งจะต้องเป็นรุ่นที่เข้าได้รับเมนบอร์ดเช่นเดียวกับแรม
4. ชิปเซ็ต (chipset) ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบหลักของเมนบอร์ด และติดมากับเมนบอร์ดทุกชิ้นไม่สามารถแก้ไขได้ ชิปเซ็ตเป็นอุปกรณ์ที่กำหนดคุณสมบัติของเมนบอร์ดควบคุมส่วนประกอบต่างๆ เป็นอุปกรณ์ที่กำหนดว่า แรม ซีพียู และอุปกรณ์ชนิดใดที่สามารถเข้ากับเมนบอร์ดได้ และมีขีดจำกัดในการขยายความสามารถเพียงใด ดังนั้นในการเลือกซื้อเมนบอร์ดผู้ซื้อต้องพิจารณาจากชิปเซ็ตนี้
5. ขั้วต่อไอดีอี (IDE) เป็นขั้วสำหรับต่อสายส่งข้อมูลชนิด IDE เข้ากับฮาร์ดดิสก์และซีดีรอม เพื่อสามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์เหล่านั้นเข้ามาประมวลผล
จากรูป เมนบอร์ดประกอบด้วยอุปกรณ์หลักดังนี้
1. พอร์ตต่อเชื่อมกับอุปกรณ์รอบข้าง พอร์ต (port) เป็นช่องสำหรับต่อเข้ากับหน่วยรับเข้า หน่วยแสดงผล รวมทั้งอุปกรณ์สนับสนุนทั้งหลาย อาจเป็นแผงแป้นอักขระ เมาส์ เครื่องพิมพ์ ในปัจจุบันพอร์ตที่มีการใช้อยู่ ได้แก่ พอร์ตแบบอนุกรม (serial port) พอร์ตแบบขนาน (parallel port) และยูเอสบี (USB port) ซึ่งเป็นพอร์ตที่กำลังมาแรงและปัจจุบันมีอุปกรณ์หลายชิ้นที่พัฒนาส่วนต่อ พ่วงกับเมนบอร์ดให้เป็นแบบยูเอสบี
2. สล็อต (slot) มีลักษณะเป็นช่องสำหรับเสียบอุปกรณ์ เช่น แรม โมเด็ม แบบติดตั้งภายในหรืออุปกรณ์อื่นที่ช่วยขยายความสามารถในการทำงานของเครื่อง คอมพิวเตอร์บนเมนบอร์ดประกอบด้วยสล็อตที่เสียบอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้
2.1) สล็อตเสียบแรม เป็นตำแหน่งที่เสียบหน่วยความจำหลักแบบแรม โดยแรมที่จะนำมาเสียบลงในสล็อตนี้ต้องเป็นแบบที่สล็อตนี้รับได้เท่านั้น ดังนั้นการเปลี่ยนหรือเพิ่มแรม ผู้ใช้ต้องศึกษาชนิดของแรมที่เข้ากับสล็อตเสียก่อน
2.2) สล็อต PCI เป็นช่องสำหรับเสียบอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องการต่อเพิ่มเติมเข้ากับคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทั่วไปอุปกรณ์เหล่านั้นจะได้รับการออกแบบในรูปของการ์ดสำหรับเสียบ เพิ่มเติมตามต้องการ เช่น การ์ดเสียง การ์ดแสดงผล โมเด็มแบบติดตั้งภายใน การ์ดสำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายหรือการ์ดแลน2.3) สล็อต ISA เป็นช่องเสียบสำหรับอุปกรณ์เพิ่มเติมเช่นเดียวกับสล็อต PCI สล็อต ISA เป็นรุ่นที่เก่ากว่าและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ไม่มีสล็อตประเภทนี้แล้ว
2.4) สล็อต AGP เป็นสล็อตสำหรับเสียบการ์ดแสดงผลความเร็วสูง ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงผลทางจอภาพ
3. ซ็อคเก็ต (socket) สำหรับเสียบซีพียู เป็นตำแหน่งที่เสียบซีพียูซึ่งจะต้องเป็นรุ่นที่เข้าได้รับเมนบอร์ดเช่นเดียวกับแรม
4. ชิปเซ็ต (chipset) ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบหลักของเมนบอร์ด และติดมากับเมนบอร์ดทุกชิ้นไม่สามารถแก้ไขได้ ชิปเซ็ตเป็นอุปกรณ์ที่กำหนดคุณสมบัติของเมนบอร์ดควบคุมส่วนประกอบต่างๆ เป็นอุปกรณ์ที่กำหนดว่า แรม ซีพียู และอุปกรณ์ชนิดใดที่สามารถเข้ากับเมนบอร์ดได้ และมีขีดจำกัดในการขยายความสามารถเพียงใด ดังนั้นในการเลือกซื้อเมนบอร์ดผู้ซื้อต้องพิจารณาจากชิปเซ็ตนี้
5. ขั้วต่อไอดีอี (IDE) เป็นขั้วสำหรับต่อสายส่งข้อมูลชนิด IDE เข้ากับฮาร์ดดิสก์และซีดีรอม เพื่อสามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์เหล่านั้นเข้ามาประมวลผล
วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ว่าด้วยการทำงานของ CPU
อธิบายการทำงานของ CPU
การทำงานของ CPU แต่ละคำสั่งเรียกว่า วงรอบคำสั่ง (Instruction Cycle) จะประกอบด้วย การทำงาน 2 ขั้นตอน คือ
1. วงรอบการดึงคำสั่ง (Fetch Cycle) เป็นการอ่านค่าคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำเข้ามาไว้ใน CPU
2. วงรอบการทำงานตามคำสั่ง (Execute Cycle) เป็นการแปลคำสั่ง และทำงานตามคำสั่งจนจบวงรอบการทำงาน
หากระหว่างการประมวลผลเกิดข้อผิดพลาดอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในโปรแกรม CPU ก็จะหยุดทำงานทันที (Halt) หรือพบคำสั่งในโปรแกรมให้เครื่องหยุดการทำงาน
1. อ่านคำสั่งจากหน่วยความจำเข้ามาไว้ภายใน CPU ที่ Instruction Register (IR)
2. เปลี่ยนค่า Program Control (PC) ไปชี้ที่ตำแหน่ง Address ของคำสั่งถัดไป
3. ทำการถอดคำสั่งที่อยู่ใน IR โดย Instruction Decoder (ID) แล้วส่งคำสั่งที่ถูกถอดรหัสไปยัง CU เพื่อทำงานต่อไป
4. ถ้าคำสั่งนั้นต้องใช้ข้อมูลจากหน่วยความจำเพิ่มเติมอีก หน่วยควบคุมต้องกำหนดตำแหน่ง Address ที่แน่นอนว่าอยู่ที่ไหน
5. อ่านข้อมูลเข้ามาไว้ในที่เก็บข้อมูลชั่วคราว (Data Register: DR) ภายใน CPU
6. ดำเนินการ (Execution) ตามคำสั่งด้วยหน่วย ALU
7. นำผลลัพธ์ที่ ได้จากการคำนวณจาก ALU ไปเก็บไว้ในหน่วยAccumulator Register
8. กลับไปข้อ 1 เพื่อดำเนินงานต่อ (Execution)
คำศัพท์เกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ของ CPU
6.1 แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ CPU
รายละเอียดเกี่ยวกับ CPU | ความหมาย |
Processor | บอกรุ่น CPU |
PlateForm | บอกซอกเก็ต CPU |
Vendor String | บอกบริษัทผู้ผลิต CPU |
CPU Type | บอกชนิดของ CPU |
Family | บอกตระกูลของการผลิต CPU |
Model | บอกหมายเลขรุ่น CPU |
Stepping ID | บอกถึงระดับขั้นของเทคโนโลยีในการผลิต |
Name String | บอกชื่อที่เรียกใช้ CPU |
6.2 แสดงความถี่ที่ใช้กับ CPU
ความถี่ที่ใช้กับ CPU | ความหมาย |
Internal Clock | บอกความถี่สัญญาณนาฬิกาภายใน CPU จะมีค่าเท่ากับ System Clock คูณกับ Multiplier |
System Clock | บอกความถี่ของสัญญาณนาฬิกาที่ใช้กับ CPU |
System Bus | จะบอกความถี่ของระบบบัส |
Multiplier | จะบอกอัตราตัวคูณสัญญาณนาฬิกา |
6.3 แสดงหน่วยความจำ (Cache) ภายในตัว CPU
หน่วยความจำ (Cache) ภายในตัว CPU | ความหมาย |
L1 I-Cache | จะบอกถึงแคชที่ใช้ในการเก็บคำสั่ง (Instruction Cache) ที่ CPU ต้องการเรียกใช้ ซึ่งเป็นแคชในระดับหนึ่ง |
L1 D-Cache | จะบอกถึงแคชที่ใช้ในการเก็บข้อมูล (Data Cache) ที่ CPU ต้องการเรียกใช้ ซึ่งเป็นแคชในระดับหนึ่ง |
L2 Cache | จะบอกถึงขนาดของหน่วยความจำแคชระดับสอง |
L2 Speed | จะบอกถึงความเร็วของหน่วยความจำแคชระดับสอง |
6.4 แสดงถึงเทคโนโลยีที่ CPU สนับสนุนในการใช้งาน
เทคโนโลยีที่ CPU สนับสนุนในการใช้งาน | ความหมาย |
MMX | จะบอกว่า CPU สนับสนุนเทคโนโลยี MMX (Multimedia eXtention) ด้านมัลติมีเดียของ Intel หรือไม่ |
SSE | จะบอกว่า CPU สนับสนุนเทคโนโลยี SSE หรือไม่ เป็นเทคโนโลยีของ Intel PentiumIII และ 4 |
SSE2 | จะบอกว่า CPU สนับสนุนเทคโนโลยี SSE2 หรือไม่ |
SSE3 | จะบอกว่า CPU สนับสนุนเทคโนโลยี SSE3 หรือไม่ |
MMX+ | จะบอกว่า CPU สนับสนุนเทคโนโลยี MMX+(MMX Technology Extensions) ด้านมัลติมีเดียของ AMD หรือไม่ |
3D Now! | จะบอกว่า CPU สนับสนุนเทคโนโลยี 3D Now! หรือไม่ เป็นเทคโนโลยี AMD Athlon ที่สนับสนุนการทำงานประเภท 3D |
3D Now!+ | จะบอกว่า CPU สนับสนุนเทคโนโลยี 3D Now!+( 3D Now! Instruction Extensions) หรือไม่ |
อยากบอก....
" ถ้าเปรียบชีวิตคนเราเหมือนกับต้นไม้ (ความคิดโดยส่วนตัว) "
- ต้นไม้เกิดเป็นต้นกล้า ค่อยๆโตขึ้น ไม่นานก็ต้องมีวันที่ต้องแห้งเหี่ยวและล้มตายลงไป
- ชีวิตของเรา เกิด เติบโตมา มีวัยเรียน วัยทำงาน ไม่นานก็ต้องลาจากโลกนี้เหมือนกันที่พูดถึงเรื่องนี้เพราะว่า ได้มีโอกาสไปที่บ้านนักบุญเซ็น โจเซฟ (บ้านพักคนชรา) แว๊บแรกที่มองเห้นคือ ผู้สูงทั้งหลายนั่งรอเด็กๆที่จะมามอบรอยยิ้มและความสุขให้( แม้จะเป็นเพียงระยะเวลาอันสั้น ) เมื่อท่านมองเห็นเด็กๆ น้ำตาก็อาบทั้งสองแก้ม มองเห็นแล้วรู้สึกสลด หดหู่ เคยเห้นแค่ในข่าว ไม่เคยเจอกับตัวเอง มันทำให้เรามองและคิดไปว่า พ่อแม่ตัวเองยังทำแบบนี้ แล้วถ้าวันหนึ่ง ลูกของตัวเองทำแบบนี้บ้างล่ะ ขึ้นชื่อว่าเป็นดวงใจของพ่อแม่ แต่ดวงใจของพ่อแม่กลับมาทำร้ายผู้ที่เป็นพ่อเป็นแม่ มันน่าเศร้ายิ่งกว่า มีภาพมาให้ดูด้วยน่ะค่ะ เผื่อจะเตือนสติอะไรได้บ้าง
คุณยายคนนี้ตาบอดจากการป่วยเป็นโรคเบาหวาน
รอเธออยู่
วันแห่งความรักขอมอบให้ผู้สูงอายุทุกท่าน
รอยยิ้มแห่งความสุข
การให้ความรักและความเอาใจใส่บุคคลในครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ได้กระทำให้แค่คนในครอบครัวเท่านั้นแต่หมายถึงการแสดงความมีน้ำใจต่อคนรอบข้าง รอยยิ้มของผู้สูงวัยรู้ที่บ่งบอกถึงการมีความสุข ที่มีเด็กๆมามอบให้ เพียงเท่านี้หัวใจที่เคยห่อเหี่ยวก็กลับมาสดชื่นได้อีกครั้ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)